คัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสาเถระ รจนา
คัมภีร์ วิสุทธิมรรค [Visuddhimagga] จัดเป็นคัมภีร์สำคัญฝ่ายเถรวาทคัมภีร์หนึ่งในชั้นนวัฎฐกถา รจนาขึ้น เมื่อหลังพุทธปรินิพพานประมาณ 956 ปี (ราวพุทธศตวรรษที่ 9) พระพุทธโฆสะอาศัยโบราณอรรถกถา 3 คัมภีร์ เป็นหลักใหญ่ในการแต่ง อรรถกถา 3 คัมภีร์ที่ว่านั้น คือrn1. มหาอรรถกถา เป็นคัมภีร์เดิมที่เคยผ่านการสังคายนาครั้งแรก อันมีพระมหากัสสปะเป็นประธานมาแล้ว และถูกถ่ายทอดเป็นภาษาสิงหลเมื่อสังคายนาครั้งที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนายังนานาประเทศrn2. มหาปัจจรีอรรถกถา แต่งขึ้นที่ประเทศลังกาrn3. กุรุณทีอรรถกถา แต่งขึ้นที่ประเทศลังกาเช่นกันrnอรรถกถาทั้ง 3 คัมภีร์นี้จารึกไว้เป็นภาษาสิงหล ใช้เป็นคัมภีร์หลักในการแต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคดังกล่าวrnrnคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่งขึ้นโดย พระพุทธโฆสะ ท่านเป็นผู้ประมวลธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎก อันได้แก่ พระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก มาเรียบเรียงใหม่ในลักษณะของไตรสิกขา โดยนำไตรสิกขามาตั้งเป็นบทกระทู้ แล้วอธิบายขยายความบทกระทู้ดังกล่าว แสดงหมวดหมู่ของไตรสิกขาเป็นรูปคำถาม-คำตอบ แบ่งเป็น 3 ภาคใหญ่ ๆ ถือแนววิสุทธิ 7 ประการเป็นหลัก โดยขยายสีลวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่งต่างหาก เรียกว่า สีลนิเทศ แยกจิตวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่ง เรียกว่า สมาธินิเทศ และแยกปัญญาวิสุทธิทั้ง 5 มีทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้น ออกเป็นอีกนิเทศหนึ่ง เรียกว่า ปัญญานิเทศ รวมทั้ง 3 ภาค มี 23 นิเทศrnในคัมภีร์มหาวงส์กล่าวถึงประวัติ พระพุทธโฆสะ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคไว้ว่าท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ใกล้กับเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดียฝ่ายใต้ ในวัยเยาว์ได้ศึกษาเล่าเรียน ศิลปวิทยา ตามธรรมเนียมของพราหมณ์ เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวทมาก ท่านได้เดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ของอินเดีย เพื่อโต้ตอบเรื่องปรัชญากับนักปราชญ์ทั้งหลาย วันหนึ่งท่านได้พบกับพระเรวัตเถระที่วัดแห่งหนึ่ง หลังจากที่ไต่ถามปัญหาทางธรรมะ จึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และขอออกบวช ได้สมญานามว่า พุทธโฆสะ เพราะเสียงของท่านมีความลึกซึ้ง สื่อความหมายทางธรรมดุจดังพระสุรเสียงของพระพุทธเจ้าrnเมื่อบวชแล้วพระพุทธโฆสะได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย และอัตถสาลินี - อรรถกถาของธัมมสังคณี อันเป็นคัมภีร์แรกของพระอภิธรรมปิฎก เมื่อท่านเริ่มเขียนอรรถกถาปริตร พระเรวัตแนะนำให้ท่านเดินทางไปประเทศลังกา เพื่อศึกษาภาษาสิงหลและคัมภีร์อรรถกถาที่ลังกา แล้วแปลอรรถกถาสิงหลออกเป็นภาษามคธ (บาลี) เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่รู้ภาษาสิงหล เพราะในอินเดียเวลานั้นมีแต่พระไตรปิฎก ไม่มีอรรถกถาเหมือนอย่างลังกาrnพระพุทธโฆสะเดินทางไปประเทศลังกา ตรงกับช่วงรัชกาลของพระมหานาม พระพุทธโฆสะได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านสังฆปาล ในสำนักของฝ่ายมหาวิหาร และขออนุญาตแปลอรรถกถาสิงหลเป็นภาษามคธ (บาลี) คณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหารขอให้ท่านพิสูจน์ความสามารถด้วยการเขียนอธิบายขยายความคาถา 2 บท พระพุทธโฆสะอธิบายได้อย่างละเอียด มีเนื้อความครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า คือ กล่าวถึงเรื่อง ศีล สมาธิ และปัญญา ผลงานนี้คือ วิสุทธิมรรคrnวิสุทธิมรรค เป็นปกรณ์พิเศษที่แต่งขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ 900 ปี ที่ลังกาทวีป พระพุทธโฆสะ เป็นที่รู้จักกันมากในเมืองไทย และในเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งปวง เพราะท่านได้ทำหนังสือทางพระพุทธศาสนาที่เป็นภาษามคธไว้มาก งานใหญ่ที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงเราทั้งหลาย ก็คือ งานแปลคัมภีร์อรรถกถา พระไตรปิฎกจากภาษาสีหฬเป็นภาษามคธ หรือ ภาษาบาลี ในเมืองไทยได้เรียนคัมภีร์ที่ท่านทำไว้เป็นภาษามคธตั้งแต่ประโยค ๓ คือ อรรถกถาธรรมบท จนถึงประโยค ๙ คือวิสุทธิมรรค โดยเฉพาะหนังสือวิสุทธิมรรคเป็นเรื่องที่นิยมศึกษากันมาก นับถือว่าเป็นปกรณ์สำคัญปกรณ์หนึ่ง เพราะท่านพระพุทธโฆสะได้ประมวลธรรมในพระไตรปิฎก มาแสดงไว้เป็นหมวด ๆ ตั้งแต่ศีล และสมาธิ ปัญญา โดยลำดับ วิธีแต่งเหมือนอย่างแต่งกระทู้ หรือเรียงความแก้กระทู้ธรรม ในปัจจุบัน คือขยายความย่อให้พิสดาร บทกระทู้ของวิสุทธิมรรค ว่าด้วยไตรสิกขา ซึ่งเป็นหัวข้อใหญ่ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น นับว่าเป็นบทกระทู้ของหัวใจการปฏิบัติธรรมทีเดียว ท่านพระพุทธโฆสะแต่ง อธิบายโดยวิจิตรพิสดารอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ได้อ้างพระพุทธวจนะเป็นอาคตสถานไว้ในที่นั้น ๆ ทั่วไป แสดงว่าท่านมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก สามมารถยกเอาธรรมที่ว่าด้วยศีล มารวมไว้ในหมวดศีล ยกเอาธรรมที่เกี่ยวกับสมาธิมารวมไว้ในหมวดสมาธิยกเอาธรรมที่กล่าวถึงปัญญามารวมไว้ในหมวดปัญญา โดยปันออกเป็นนิเทศ ๆ รวมทั้งหมด ๒๓ นิเทศ และประวัติแห่งการแต่งวิสุทธิมรรคปกรณ์ของท่านก็คล้ายกับการแต่งสอบไล่ เพราะพระเถระชาวสีหฬได้ออกกระทู้ให้ท่านแต่งดูก่อน เมื่อท่านทำได้เป็นที่พอใจ จึงจะยอมยกคัมภีร์อรรถกถาภาษาสีหฬ ให้ท่านแปลเป็นภาษามคธต่อไป ท่านพระพุทธโฆสะได้ทำสำเร็จอย่างรวดเร็วและดียิ่ง เป็นที่พอใจของพระเถระชาวสีหฬทั้งปวงrnฉะนั้นคัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้จึงเป็นวิทยานิพนธ์สอบความรู้ของท่านพระพุทธโฆสะ ที่รับรองกันว่า เป็นชั้นเยี่ยม มาตั้งแต่เบื้องต้น และเป็นที่รับรองกันในหมู่นักศึกษาตลอดมา วิสุทธิมรรคปกรณ์นี้ ได้ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลีแห่งคณะสงฆ์ประเทศไทยมานาน และเป็นคู่มือในการปฏิบัติพระพุทธศาสนาrn
0002929 | BQ5335 ส244ค 2548 | Research Library (อาคาร 1 ชั้น 4) | พร้อมให้บริการ |
No other version available