อักษรขอมที่ใช้บันทึกภาษาไทย
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปอักษรและอักขรวิธีของอักษรขอมที่ใช้บันทึกภาษา ไทย จากข้อมูลขั้นต้นประเภทจารึก ใบลาน และสมุดข่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยจัดแบ่งข้อมูลออก เป็นสมัยต่างๆ ตามสมัยประวัติศาสตร์ไทย คือ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเกณฑ์ในการแบ่งคือ ศักราชที่ปรากฎในข้อมูล รูปร่างและขนาดของข้อมูลตลอดจนลักษณะ ของการบันทึก ซึ่งผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปอักษรขอมในแต่ละสมัย มีลักษณะต่างกันที่เส้นซึ่งใช้ประกอบเป็นตัวอักษร กล่าวคือ ในสมัยสุโขทัย ใช้เส้นโค้งมน รูปอักษรมีลักษณะกลมป้อม สมัยอยุธยา ใช้เส้นซึ่งโค้งน้อยกว่า สมัยสุโขทัย ตัวอักษรจึงไม่กลมเท่า ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ใช้เส้นตั้งและเส้นเฉียงตรง รูปอักษรเป็นรูปเหลี่ยม ในด้านอักขรวิธี โดยทั่วไปมีวิธีการประสมอักษรเช่นเดียวกับอักขรวิธีของอักษรไทยใน สมัยเดียวกัน มีข้อแตกต่างที่การใช้รูปพยัญชนะตัวเชิงในอักษรขอมซึ่งอักษรไทยไม่มี กล่าวคือ การเขียนพยัญชนะตัวสะกดในสมัยสุโขทัยนิยมเขียนด้วยพยัญชนะตัวเต็ม แต่สมัยอยุธยาและสมัย รัตนโกสินทร์นิยมเขียนด้วยพยัญชนะตัวเชิง
0005784 | PL4322 ส71 2523 | Research Library (อาคาร 1 ชั้น 4) | พร้อมให้บริการ |
No other version available