ประวัติศาสตร์เมืองพวน: จากฉบับภาษาลาว ชื่อประวัติศาสตร์อาณาจักรพวน
หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองพวน มีผู้เรียบเรียงไว้ก่อนหน้านี้หลายเล่ม แต่เป็นเรื่องเกร็ดทั่วไป ไม่ปะติดปะต่อร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบเหมือนเล่มนี้ ซึ่งแม้จะไม่สมบูรณ์ที่สุด แต่ก็ได้เนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยมีมา เจ้าคำหลวง หน่อคำ ตั้งชื่อหนังสือของท่านว่า ประวัติศาสตร์อาณาจักรพวน คำว่า อาณาจักร ใช้กันแพร่หลายในประเทศทางอุษาคเนย์ยุคอาณานิคม ตรงกับไทยช่วง ร.4 – ร.5 โดยเป็นไปตามหนังสือประวัติศาสตร์ในยุโรปที่เรียกเป็นอาณาจักรต่างๆ แต่อุษาคเนย์ โดยเฉพาะบริเวณสุวรรณภูมิ มีลักษณะการเมืองการปกครองแบบเครือญาติ ซึ่งขนาดดินแดนบ้านเมืองไม่ใหญ่โตกว้างขวาง จึงเทียบได้กับคำว่า รัฐ หรือ นครรัฐ เท่านั้น ไม่ถึงขนาดอาณาจักร รัฐแต่ละรัฐต่างเป็นเอกราช มีอิสระ “เมื่อรัฐใดเข้มแข็งขึ้นก็รวมอำนาจทางการเมืองรวมศูนย์ปกครองเป็นเอกภาพเสียครั้งหนึ่ง แต่ก็ไปได้ไม่จีรัง เอกภาพก็ทลายลงอีก แล้วก็แย่งชิงกันไปตามกำลังจะอำนวย” (ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม โดย จิตร ภูมิศักดิ์ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2547 หน้า 187) ด้วยเหตุดังนี้ผมจึงขออนุญาตใช้ชื่อหนังสือให้ตรงตามเนื้อหาแท้จริงว่า “ประวัติศาสตร์เมืองพวน แปลจากต้นฉบับภาษาลาว ชื่อ ประวัติศาสตร์อาณาจักรพวน โดยเจ้าคำหลวง หน่อคำ ประธานราชวงศ์พวน อาจมีนักวิชาการบางกลุ่มเห็นว่าประวัติศาสตร์เมืองพวนเล่มนี้ ยังไม่เป็นงานวิจัยทางวิชาการประวัติศาสตร์ เหมือนงานวิจัยของนักวิชาการทั่วไป แต่หนังสือเล่มนี้มีคุณค่ามหาศาลในการศึกษาประวัติศาสตร์ราชวงศ์พวน กับประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของลาว ช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบอบเก่าสู่ระบอบใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงถึงผู้คนวงกว้างหลายระดับ ทำให้แต่ละกลุ่มมีทัศนะต่อความเปลี่ยนแปลงต่างกัน โดยเฉพาะผังสาแหรกครอบครัวใหญ่ของอาชญาโถ ร่วมเครือญาติราชวงศ์พวน ซึ่งทำโดยประธานราชวงศ์พวน นอกจากในเล่มนี้เท่านั้น
0001531 | DS555.98 X53 ค4319 2555 | Research Library (อาคาร 1 ชั้น 4) | พร้อมให้บริการ |
No other version available