ปัญญาสชาดก ๑
การศึกษาปัญญาสชาดก ฉบับตัวเขียน ที่ผู้วิจัยค้นพบมีอยู่มากมายในหอสมุดแห่งชาติ และวัดต่างๆ ทำให้ได้ทราบต้นฉบับ การจาร เนื้อหา ความนิยมที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งตัวเขียนฉบับใบลานเดิมสันนิษฐานว่าได้สูญหายไป คงอยู่แต่ฉบับตัวเขียน ๒ ประเภท คือ ฉบับตัวเขียนที่ไม่มีประวัติการจาร และฉบับตัวเขียนที่มีประวัติการจารในสมัยต่อมาจากชาดกเรื่องที่ ๑-๗ คือสมุทรโฆษชาดก สุธนกุมารชาดก สุธนุชาดก รตนปัชโชตชาดก สิริวิปุลกิตติชาดก วิปุลราชชาดก และสิริจุฑามณีชาดก ผู้วิจัยพบว่า ๓ เรื่องแรก มีสาเหตุมาจากมาตุคาม ลักษณะเรื่องเป็นเรื่องประโลมโลก ที่ก่อให้เกิดทุกข์ ที่เหลือแสดงถึงการบำเพ็ญทานบารมีเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นทานในระดับอุปบารมีและปรมัตถบารมี ที่ยวดยิ่งของพระโพธิสัตว์ผู้มุ่งโพธิญาณ ผู้แต่งได้นำเสนอมุ่งเน้นให้เกิดศรัทธามากกว่าการปฏิบัติตามได้จริง แต่ถือเป็นทิฏฐานุคติได้rn ปัญญาสชาดกเป็นชาดกนอกนิบาต ในส่วนที่เป็นฉบับตัวเขียนใบลาน ภาษาบาลี อักษรขอมที่จารต่อกันมาในประเทศไทย ยังไม่มีใครปริวรรตตรวจสอบชำระเป็นภาษาบาลี อักษรไทย มีแต่ฉบับแปลไทยของหอสมุดแห่งชาติซึ่งเป็นฉบับหลักในการศึกษา และมีวรรณคดีไทยที่นำเรื่องชาดกบางเรื่องมาดัดแปลงนำเสนอ เช่น สมุทรโฆษคำฉันท์ (สมุทรโฆสชาดก) สุธนมโนห์รา (สุธนกุมารชาดก) กลับเป็นที่รู้จักนิยมชมชอบซึมซาบในจิตใจของคนไทยอย่างยิ่ง
No copy data
No other version available