ประวัติศาสตร์ล้านนา
เรามักเรียกดินแดนบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยว่า ล้านนา" ที่รับรู้ว่างดงามด้วยธรรมชาติแห่งขุนเขา และผู้คนที่มากด้วยน้ำใจไมตรี รวมถึงความงดงามของศิลปะและวัฒนธรรมประเพณี ที่มากด้วยเอกลักษณ์ อันโดดเด่น แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าจะย้อนลึกลงไปกว่านั้นถึงที่มาที่ไปตลอดจนความสำคัญอันมีนัยยะต่อความเป็นประเทศไทยแล้วนั้น คงเป็นเรื่องที่จะมีผู้รู้ไม่มากนัก ทั้งที่การมีอยู่ของอาณาจักรล้านนานั้น มีผลสำคัญยิ่งต่อความเป็นประเทศไทย ประวัติศาสตร์แห่งเรื่องราวของแผ่นดินนี้ แม้จะมีอยู่ แต่ดูเหมือนจะกระจัดกระจาย ยากต่อการสืบค้นสำหรับผู้อ่านทั่วไปที่มิใช่นักประวัติศาสตร์ จนเมื่อ "อาจารย์ สรัสวดี อ๋องสกุล" ได้รวบรวมค้นคว้าจนกลายมาเป็นหนังสือ ประวัติศาสตร์ล้านนา ที่รวบรวมเรื่องราวได้อย่างครอบคลุมและน่าสนใจ และเหมาะกับนักอ่านที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของแผ่นดินล้านนา ซึ่ง "อาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์" บอกว่า "เป็นเสมือนหลักกิโลเมตรแรกๆ บนเส้นางอันแสนไกล...ของการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา โดยเฉพาะนี่เป็นหนังสือทำให้เรามองเห็นภาพแห่งยุคสมัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ได้อย่างชัดเจนมากกว่าการมองเห็นเพียงว่า กษัตริย์พระองค์ไหนเป็นผู้สร้าง อะไรคือความมั่นคง อะไรคือความขัดแย้ง อะไรคือความเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ปรากฏชัดอยู่ในหนังสือเล่มนี้ที่ดำเนินเรื่องไปตามยุคสมัยที่ทำให้นักอ่านเข้าใจได้อย่างเห็นภาพและมีชีวิต" สารบัญ บทที่ 1 การศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ล้านนา บทที่ 2 ประวัติศาสตร์ยุคเเว่นเเคว้น นครรัฐในดินเเดนล้านนา ก่อนกำเนิดอาณาจักรในพุทธศตวรรษที่ 19 บทที่ 3 อาณาจักรล้านนา (พ.ศ.1839-2101) พัฒนาการของอาณาจัก บทที่ 4 อาณาจักล้านนา (พ.ศ.1839-2101) การปกครอง เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักร บทที่ 5 ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.2101-2317) จากศูนย์อำนาจสู่รัฐชายขอบ บทที่ 6 ล้านนาสมัยเมืองประเทศราชเเห่งราชอาณาจักรสยาม (พ.ศ.2317-2442) บทที่ 7 อิทธิพลจักรวรรดินิยมตะวันตกในล้านนาเเละปัญหาที่เกิดขึ้น บทที่ 8 การรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้าสู่ส่วนกลาง บทที่ 9 สังคมเศรษฐกิจของล้านนา (พ.ศ.2317-2476) บทที่ 10 ภาคเหนือยุคหลังเปลี่ยนเเปลงการปกครองrnrn© Copy Right by SE-EDUCATION Public Company Limited. rn"
0006349 | DS576 .ส349ป 2557 | Research Library (อาคาร 1 ชั้น 4) | พร้อมให้บริการ |
No other version available