พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
มีความเป็นมาที่ยาวนาน ผ่านการจัดปรับหลายขั้นตอน จนลงตัวมีรูปเล่มและชื่อปัจจุบัน
โดยมีเนื้อหาแยก เป็น 3 ภาค คือ
ภาค 1 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ หมวดธรรม
ภาค 2 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ
ภาค 3 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ อังกฤษ-ไทย
เพื่อศึกษาอ้างอิง
สะดวกในการค้นคว้าศึกษา ข้อมูลทางวิชาการ ทางพระพุทธศาสนา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม และ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ประมวลศัพท์ ย่อมถือได้ว่าเป็นหนังสอที่มีคุณค่ายิ่งอีกชุดหนึ่ง ที่สามารถใช้เป็นคู่มือสำคัญ ในการศึกษาพระพุทธศาสนา เป็นส่วนที่ช่วยให้เกิดความกระจ่างในศัพท์ในคำแปลใหม่ที่เข้าใจยากและยากที่จะเข้าใจ ที่พบอยู่ในหนังสือธรรมะทั้งหลาย และยังเป็น "แสงสว่าง" ให้เข้าใจพระพุทธศาสนาโดยรวมได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น พจนานุกรมนี้ เป็นกึ่งสารานุกรม แต่ให้มีลักษณะในทางวิชาการ คำอธิบายของคำจำนวนมากในหนังสือนี้ มิใช่แสดงเพียงความหมายของศัพท์หรือถ้อยคำเท่านั้น ยังให้ความรู้อันพึงทราบเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อีกด้วย เช่น จำนวน ข้อย่อย ประวัติย่อ สถานที่ และเหตุการณ์แวดล้อม เป็นต้น เข้าลักษณะในสารานุกรม แต่ยังคงชื่อเป็นพจนานุกรม
ตามความตั้งใจเมื่อเริ่มทำ และจัดเป็นการจำกัดขอบเขตไว้ให้หนังสือนี้ยังแตกต่างจาก สารานุกรมพุทธศาสน์ ที่จัดทำค้างอยู่ อนึ่ง ผู้ใช้หนังสือนี้ พึงตระหนักว่า หลักธรรมต่างๆที่ประมวลไว้ในพจนานุกรมนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้คัดเลือกมา มิใช่ทั้งหมดในพระไตรปิฎก พึงถือพจนานุกรมนี้เป็นเพียงฐานสำคัญ ในการศึกษาค้นคว้าธรรมให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป อีกประการหนึ่ง คำอธิบายข้อธรรมต่างๆ ในพจนานุกรมนี้ จัดทำในลักษณะเป็นตำราหรือเป็นแบบแผน จึงยึดเอาหลักฐานในคัมภีร์ เป็นบรรทัดฐานก่อน และให้ความสำคัญแก่คัมภีร์ทั้งหลาย ตามลำดับชั้น เช่น พระไตรปิฎกเหนืออรรถกถา อรรถกถาเหนือมติอาจารย์รุ่นหลัง และเหนืออัตโนมัติ เป็นต้น พึงใช้พจนานุกรมนี้ เป็นที่ปรึกษา
โดยมีความเข้าใจดังกล่าวนั้น เป็นพื้นอยู่ในใจ จะได้คิดขยายความ ต่อออกไปได้อย่างมีหลักและมีขั้นมีตอน ตลอดจนวิจารณ์ได้อย่างมีหลักเกณฑ์
0005952 | BQ 130 .พ38 2558 | Research Library (อาคาร 1 ชั้น 4) | พร้อมให้บริการ |
0006316 | BQ 130 .พ38 2558 ฉ.2 | Research Library (อาคาร 1 ชั้น 4) | พร้อมให้บริการ |