จิตรกรรมฝาผนัง วัดราชสิทธาราม
วัดราชสิทธาราม เดิม ชื่อ วัดพลับซึ่งเป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด เดิมตัววัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของผังวัดปัจจุบัน ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชทรงอาราธนาพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย จากพระนครศรีอยุธยา มาจำพรรษา ณ กรุงเทพศรีทราวดี พระอาจารย์สุกได้ขอพระบรมราชานุญาต ว่า ขออยู่ ณ วัดที่เป็นอรัญวาสี(วัดป่า) คือวัดพลับ ล้นเกล้ารัชกาลที่๑ จึงทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ โดยรวมกับวัดพลับเดิม แล้วสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ฝ่ายวิปัสสนาธุระคู่กับวัดรัชฎาธิษฐาน ซึ่งเป็นสำนักกรรมฐานฝั่งธนบุรี [ส่วนฝั่งพระนครมี วัดสระเกศ และ วัดราชาธิวาส เป็นวัดฝ่ายวิปัสสนาธุระ] ต่อมาพระอาจารย์ สุก ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่๔ วัดราชสิทธารามจึงเป็นวัดที่สำคัญอีกที่หนึ่ง และอยู่มาตราบเท่าทุกวันนี้
พระ อุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรม ทรงดั้งเดิม แบบพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ ๒ ชนิดก่ออิฐถือปูน หลังคาลด ๒ ชั้น หน้าบันทั้ง ๒ ด้าน เป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณด้านข้างเป็นลายขนด มีเสาพาไลรับหลังคารอบพระอุโบสถ มีทางเข้าด้านละ ๒ ประตู รวม ๔ ประตู ส่วนหน้าต่างมีด้านละ ๗ บาน ลายรอบกรอบประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายดอกไม้แบบ เทศผสม ประตูและหน้าต่างเป็นไม้โบราณปิดทองประดับกระจก ด้านข้างพระอุโบสถมีกุฏิวิปัสสนาล้อมรายอยู จำนวน ๒๔ หลัง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทั้ง ๔ มุม มีเจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบย่อมุมไม้สิบสอง ตอนล่างทำเป็นกุฏิวิปัสสนา รอบพระอุโบสถ มีตุ๊กตาจีนอีกด้วย ปัจจุบันชำรุดเสียส่วนมาก
จิตรกรรมฝาผนัง เป็นสถาปัตยกรรมอันนับว่าเป็นระดับชั้นบรมครู เป็นภาพวาดที่สวยงามมากซึ่งเขียนโดยช่างยุครัตนโกสินทร์ ด้านขวาพระประธาน เป็นเรื่องพระเวสสันดรชาดก และเทวดาชุมนุม ด้านซ้าย เป็นเรื่องพระพุทธประวัติ และเทวดาชุมนุม หนังหุ้มกลองหน้าพระประธาน เป็นภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผม-พระพุทธเจ้าชนะมาร หนังหุ้มกลองด้านหลัง เป็นภาพไตรภูมิ บานประตูและหน้าต่างด้านใน เป็นรูปทวารบาล *ด้านนอกมีภาพพยุหยาตราทางสถลมารค และ ทางชลมารค ปัจจุบัน ชำรุดและเลือนลางมากด้วยความชื้นทำให้เรือนและกะเทาะออกมา*(ปัจจุบันไม่มี เหลืออยู่แล้ว)
พระประธาน เป็นแบบปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง๕ ศอก ๒นิ้ว สูงจรดพระรัศมี๖ ศอก ๑ คืบ โดยเล่ากันว่า ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒ ทรงปั้นพระเศียร ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ ทรงปั้นองค์ พระราชทานพระนามว่า "พระพุทธจุฬารักษ์" ด้านหน้ามีพระอัครสาวกทั้งสอง และพระอานนท์ ประดิษฐานตรงกลาง ซึ่งทั้งหมดนี้ ตั้งอยู่บนฐานชุกชี
พระ เจดีย์คู่ทรงสังวาล เป็นพระเจดีย์แบบลังกา ทรงระฆังคว่ำ ปูนปั้นเป็นสังวาลห้อยลงมาจากบัลลังค์ มีฐานเป็นบัวลูกแก้ว แล้วจึงเป็นมาลัยลูกแก้ว ๓ ชั้น ต่ำสุดจึงป็นฐานบัว ล้อมด้วยเจดีย์บริวาร ๔ องค์ เจดีย์ทรงเครื่อง ด้านขวาพระอุโบสถมีนามว่า พระสิราศนเจดีย์ด้านซ้ายนามว่าสิรจุมภฏเจดีย์
พระวิหาร เดิมวิหารนี้สร้างพร้อมกับพระอุโบสถ เรียกว่า"วิหารแดง" ด้วยแต่ก่อนมีเจดีย์ทาสีฝุ่นสีแดงล้อมรอบอยู่ ต่อมาวิหารได้ชำรุดทรุดโทรมมาก ทางวัดจึงสร้างใหม่และทุบเจดีย์ทั้งหมดให้เหลือเพียง ๒ องค์ วิหารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีมุขหน้าหลังหลังลด ๓ ชั้น มีคันทวยรับหลังคา ประตูมุขละ ๒ บาน หน้าต่างด้านละ ๕ บาน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป ปางมารวิชัยพระนามว่า "พระพุทธสิทธมงคล" ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน และทรงเททองหล่อองค์พระด้วย ส่วนพระวิหารทำพิธีเปิด โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ(ปุ่น ปุณฺณสิริ)
ศาลาการเปรียญ เป็นแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่๓ ก่ออิฐถือปูน ด้านในประดิษฐานธรรมาสน์บุษบก ๒ ฝั่ง
พระตำหนักเก๋งจีนและตำหนักจันทน์ เคยเป็นที่ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๓ และ ๔ ทรงประทับ เมื่อยามทรงผนวช
No copy data