การศึกษาเปรียบเทียบคำสอนในพระไตรปิฎก และ อัล-กุรอาน เรื่องปัจจัย 4
จาการศึกษาค้นคว้าได้พบว่า ทั้งในพระไตรปิฎกและอัล-กุรอานมีความแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งเนื่องมาจากความผิดแผกกันในอารยธรรมและโครงสร้างสังคม ซึ่งเป็นรากฐานทางปรัชญาคำสอนพื้นฐานของศาสนาทั้งสอง แต่ส่วนใหญ่ของคำสอนเกี่ยวกับปัจจัย 4 จะมีความคล้ายคลึงกัน ในด้านปริยัติซึ่งเป็นการให้ความรู้ทั่วๆไป เกี่ยวกับลักษณะและประเภท และภาคปฏิบัติ ที่เน้นในการขัดเกลากิเลสให้จิตสูงขึ้นเป็นขั้นๆ จากการเว้นจากความชั่ว การบำเพ็ญความดีในการแสวงหาปัจจัย 4 เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดมุ่งหมายของชีวิตคือจิตที่ผ่องแผ้ว อันนับว่าเป้นการบรรลุนิพพาน หรือความโปรดปรานของอัลลอฮู อันเป็นปฏิเวธ หรือผลจากการปฏิบัตินั่นเอง
019878 | ว.พ. มม. ศ46ก 2529 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้วิทยานิพนธ์ (มม.)) | พร้อมให้บริการ |
008074 | ว.พ. มม. ศ46ก 2529 ฉ.2 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้วิทยานิพนธ์ (มม.)) | พร้อมให้บริการ |
No other version available