การศึกษาวิเคราะห์เรื่อง "หลักการละเมิด" ในพุทธจริยศาสตร์เปรียบเทียบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไทย
ในพุทธจริยศาสตร์ การละเมิดได้แก่การก่อความเสียหายให้แก่ตนเองและผู้อื่น ความเสียหายนอกจากจะหมายถึงความเสียหายภายนอกที่มองเห็นได้คือ ทางชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน แล้วยังหมายถึงความเสียหายต่อมโนธรรมทางสังคมด้วย การแทรกแซงเสรีภาพส่วนบุคคลจะมีความชอบธรรมเมื่อบุคคลใช้เสรีภาพก่อความเสียหายแก่ตนเอง นั่นคือ การลดค่าความเป็นมนุษย์ และการทำลายสมรรถภาพของมนุษย์อันจะขัดขวางการพัฒนาตน นอกจากนี้การแทรกแซงจะมีความชอบธรรมเมื่อบุคคลทำลายความสงบเรียบร้อยของสังคม หรือละเมิดประเพณีหรือกฎหมายที่ถือว่าช่วยสร้างสภาวะที่เหมาะสมแก่การอยู่ร่วมกันของสังคมได้
021783 | ว.พ. มม. บ72ก 2543 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้วิทยานิพนธ์ (มม.)) | พร้อมให้บริการ |
No other version available