จิตวิทยาความฝัน Dream Psychology
หนังสือ "จิตวิทยาความฝัน" หรือ "Dream Psychology" เล่มนี้ เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดย "ซิกมุนด์ ฟรอยด์" นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ความฝัน อธิบายถึงกลไกการทำงาน และสาเหตุที่ทำให้เกิดฝัน ในยุคที่ผู้คนได้เริ่มรู้จักกับคำว่า "จิตใต้สำนึก" ยุคที่ยังไม่มีการรับรองว่าจิตใต้สำนึกนั้นมีจริงหรือไม่ เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่ ดังเช่นในยุคปัจจุบันนี้ Dream Psychology จึงถือได้ว่าเป็นตำราขั้นพื้นฐานของทฤษฎีจิตวิเคราะห์เล่มแรก ๆ
ฟรอยด์ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psycho-analysis) และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลกจากการคิดค้นเรื่องจิตใต้สำนึก ซึ่งถือว่าเป็นผู้บุกเบิกวิชาการแขนงใหม่ให้กับมนุษยชาติ และยังเป็นผู้ริเริ่มและจุดประกายให้ผู้คนสนใจเรื่องของจิตใต้สำนึกอย่างแพร่หลายอีกด้วย นอกจากนี้คำศัพท์ต่าง ๆ ที่เราใช้เกี่ยวกับจิตวิทยาในปัจจุบันนี้ เช่นคำว่า การเก็บกด จิตไร้สำนึก จิตสำนึก อีโก้ ซุปเปอร์อีโก้ แม้แต่ ลิบิโด ซึ่งใช้แทน คำว่า แรงขับทางเพศ ในภาษาอังกฤษที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ล้วนแต่เป็นคำศัพท์ที่ซิกมุนด์ ฟรอยด์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นเป็นคนแรกทั้งสิ้น อีกทั้งชื่อของเขาเองยังถูกนำมาบัญญัติขึ้นเป็นศัพท์ใหม่อีกหลายคำ เช่น Freudian Slip หรือการพลั้งปากพูด เป็นต้น
040307 | BF 1078 ฟ17 2563 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 1 ชั้น 11) | พร้อมให้บริการ |
No other version available