พระพุทธรูป พระพิมพ์ จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา
“รูปแบบสันนิษฐาน
สู่งานศิลปะจาก ๕๙ ซากโบราณสถาน”
ผลงานจากประสบการณ์ชีวิตการทำงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม นักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญในการสร้างรูปแบบสันนิษฐานของโบราณสถานในไทย ดังเช่น แบบจำลองพระที่นั่งต่างๆ และอาคารในพระราชวังโบราณที่พระนครศรีอยุธยา
.
อาจารย์สันติ ได้เขียนถึงที่มาของหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า
“กว่า ๔๐ ปี วิธีคิด วิธีนำเสนอของข้าพเจ้า แปลกเปลี่ยนมาเป็นลำดับ หนังสือเล่มใหม่ของข้าพเจ้า ภาพประกอบจำนวนมากเกิดจากการจัดการประสบการณ์ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ และการศึกษาจัดทำรูปแบบสันนิษฐานจากซากโบราณสถาน มาสู่พื้นฐานของศิลปะร่วมสมัย”
.
ดังนั้น กว่าจะได้เป็นรูปแบบสันนิษฐานในมุมต่างๆ ของ ๕๙ โบราณสถานในหนังสือเล่มใหม่ของอาจารย์สันติ เล็กสุขุม นี้ จึงเป็นงานที่ใช้เวลา และการประมวลองค์ความรู้ของอาจารย์ในการทำงานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่อาจารย์ได้เก็บข้อมูล นำมาวิเคราะห์เพื่อขึ้นรูปแบบสันนิษฐาน ซึ่งสภาพปัจจุบันของบางแห่ง บางที่ เหลือเพียงแค่ส่วนฐาน แต่อาจารย์สันติสามารถร่างเส้น สร้างรูปแบบโบราณสถานแต่ละมุม แต่ละด้าน ให้มีสภาพสมบูรณ์ เป็นเจดีย์ วิหาร เต็มองค์ได้อย่างน่าอัศจรรย์
.
ดังความในส่วนหนึ่งของหนังสือที่อาจารย์เขียนไว้ว่า
“โบราณสถานบอกเล่าอดีตได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพของโบราณสถาน ยิ่งเก่ามาก ถูกทิ้งรกร้าง หลักฐานต่างๆ เหลือเพียงซาก เหลืออยู่น้อยก็ยิ่งบอกเล่าได้น้อย...ยิ่งน้อยมาก รูปแบบสันนิษฐานก็ยิ่งต้องอาศัยจินตนาการมาก”
.
“รูปแบบสันนิษฐาน สู่งานศิลปะจาก ๕๙ ซากโบราณสถาน” จึงเป็นหนังสือจากชีวิตการทำงานของศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ที่ผู้สนใจด้านศิลปะไทยไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง
040282 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 6 ชั้น 17) | พร้อมให้บริการ | |
040450 | N8193.2 .ศ63 2564 ฉ.2 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 6 ชั้น 17) | พร้อมให้บริการ |
No other version available