สามก๊กเล่า พระพุทธเจ้าสอน
มีคนเขาบอกว่าอ่านเรื่องสามก๊ก ครบสามรอบครบไม่ได้ เพราะในนั้นมีแต่เนื้อหาที่ใช้เล่เพทุบายมากมาย และมีแต่แทงหลังเลื่อยขาเหยียบบ่าขึ้นมาใหญ่ หลายคนอาจมองว่าเป็นวรรณกรรมที่ไม่น่าอ่านเพราะใครอ่านมากๆ บุคคลนั้นอาจจะเป็นโมฆะมนุษย์เอาง่ายๆ หลายคนที่อ่านสามก๊กมากๆ แล้วเกิดอาการป่วยทางจิตวิญญาณหลงตัวเองนึกว่าตัวเองเก่ง ฉลาดล้ำ ก็มีให้เห็นอยู่ถมไป แต่การอ่านสามก๊ก อาจหลงลืมไปว่าในเนื้อหาของวรรณกรรมนั้น ได้แทรกความเป็นธรรมชาติของการเกิดมาเป็นมนุษย์ที่ยังมีกิเลสเต็มกำลังได้อย่างสมจริงสมจังมิใช่วรรณกรรมโลกสวย แม้จะผ่านมากี่ร้อยปีก็ยังได้รับความนิยม สิ่งหนึ่งของวรรณกรรมสามก๊กเมื่ออ่านดีๆ เราจะพบเรื่องของความกตัญญูบ้าง เรื่องของคุณธรรมบ้าง แม้ว่าเรื่องสามก๊กที่มีกลิ่นไอมาจากเค้าโครงเรื่องจริงอยู่บ้าง แต่ก็ยังหลังสมัยพุทธกาล หรือยุคที่พระพุทธเจ้ามีพระชนม์อยู่ หลากหลายเรื่องราวที่เกี่ยวกับคุณธรรม กตัญญู อาจเป็นไปได้ว่านำเอามาจากคุณธรรมของพระพุทธศาสนาแม้จะไม่ใช่ทางตรงก็ต้องทางอ้อม เพราะคตินิยมความศรัทธาพุทธศาสนามีอิทธิพลในทางเอเชียอยู่ไม่น้อย ที่สำคัญคือ พระพุทธศาสนาเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศจีนตั้งแต่ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่น และได้แพร่หลายอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกในอาณาจักรวุยก๊กของโจโฉด้วย แต่สำหรับหนังสือเล่มนี้ สามก๊กเล่า พระพุทธเจ้าสอน เป็นมิติใหม่ ที่ไม่เคยมีการนำเอาศาสตร์ความรู้ทางด้านพุทธศาสนามาเปรียบเทียบกับวรรณกรรมสามก๊กมาก่อน แต่ในครั้งนี้ได้นักเขียนสายธรรมะอย่าง ราช รามัญ มาขยับปากกา สอดแทรกไปพร้อมกับนักเขียนสายสามก๊กอย่าง ยศไกร ส.ตันสกุล และเปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป จึงทำให้หนังสือเล่มนี้น่าอ่านและเป็นอะไรในมิติใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
039641 | PL2659.T5 ร221 2560 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 2 ชั้น 29) | พร้อมให้บริการ |
No other version available