ศรัทธากับปัญญา : บทสนทนาทางปรัชญาว่าด้วยศาสนา
“ ในอดีตที่ผ่านมา สังคมไทยยอมรับคำกล่าวที่ว่า “ พระเจ้าพิสูจน์ไม่ได้”
“ ศาสนาเทวนิยมใช้แต่ศรัทธาหามีปัญญาไม่ ” โดยไม่ตั้งคำถามใด ๆ
หนังสือเล่มนี้เสนอให้พุทธศาสนาพูดคุยสนทนากับศาสนาสายเอกเทวนิยม … เป็นความพยายามทางวิชาการ ที่จะสะท้อนบทสนทนาอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างสองสายธารความคิดนี้ ในประเด็นที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์สามัญ เช่น วิธีอธิบายโลก ความจริงและความหมายของคัมภีร์ศาสนา ความยุติธรรมทางศาสนา และพหุนิยมทางศาสนา
โดยผู้เขียนเห็นว่าแนววิธีศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาศาสนา น่าจะเริ่มต้นด้วยการแสดงความเคารพข้อเสนอทางศาสนาด้วยความสงสัย ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าการยอมรับโดยดุษณีปราศจากข้อสงสัยใด ๆ อาจมิใช่อาการแห่งความเข้าใจสิ่งที่ตนอ้างว่า “ ยอมรับ ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อบรมธรรมพร้อมรับมานั้นเป็นการอ้างถึงสัจธรรมอันสูงสุด ความสงสัย . … เป็นอาการแห่งความเคารพในสัจธรรมนั้นเอง ในทางปฏิบัติ ท่าทีดังกล่าวนำไปสู่การวิเคราะห์โดยให้เอกเทวนิยมและพุทธปรัชญา สามารถพูดคุยสนทนากันอย่างมีความหมาย ด้วยความหวังว่า บทสนทนาดังกล่าวจะนำไปสู่ความเคารพและไมตรีจิตระหว่างเอกเทวนิยมกับพุทธปรัชญา และความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับศาสนา
โดยมีประเด็นมุมมองที่นำขึ้นมา ได้แก่ ที่มาของความรู้ - เหตุผล ศรัทธา ปัญญา , เกี่ยวกับวิธีอธิบายโลก , การพิจารณาความจริงในคัมภีร์ทางศาสนา , ความยุติธรรมทางศาสนา , พหุนิยมทางศาสนาและอนาคตของปรัชญาศาสนา
ในเชิงวิชาการพยายามจัดองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนากับปรัชญานี้ น่าจะเป็นประเด็นแก่ผู้สนใจ ดังเช่น
บางส่วนของที่มาแห่งความรู้ เหตุผล ศรัทธา ปัญญา ในบริบทปรัชญาศาสนาตะวันตก ความน่าเชื่อถือของข้อความที่ตั้งอยู่บนฐานของศรัทธา ถูกตรวจสอบด้วยเกณฑ์อันเข้มงวดจาก วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในส่วนพุทธปรัชญา “ ศรัทธา ” ก็ถูกมองว่าต้องมีการควบคุมกำกับด้วยปัญญาทุกขั้นตอน ( ศรัทธา – สัมมาทิฐิ - สัมมาญาณะ - สัมมาวิมุตติ )
014897 | BL 51 ส7ศ 2545 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 1 ชั้น 9) | พร้อมให้บริการ |
018737 | BL 51 ส7ศ 2545 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) | พร้อมให้บริการ |
No other version available