วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
"วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร" หรือที่เรียกอย่างสั้นๆ ว่า "วัชรสูตร" นั้น เป็นพระสูตรสําคัญที่ผู้ศึกษาธรรมทุกคนต่างรู้จัก ได้ถูกแปลจากภาษาอินเดียเป็นภาษาจีนมากมายหลายสํานวน แต่สํานวนที่ทุกคนต่างยอมรับมากเป็นที่สุด คือสํานวนของ "ท่านพระกุมารชีพ" ซึ่งเป็นภิกษุผู้มีชื่อเสียงโด่งดังปรากฏอยู่ในช่วงปี ค.ศ.๓๔๔-๔๑๓ แต่เท่าที่มีการถ่ายทอดจากภาษาจีนออกสู่ภาคภาษาไทยแพร่หลายมากที่สุด คือสํานวนของ "ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ" ส่วนสํานวนที่มีการแปลเนื้อพระสูตรพร้อมทั้งคําอธิบายด้วยนั้น ก็มีเพียงสํานวนของ "ลูกศิษย์โง่" ที่ได้แปลจากผลงานการประพันธ์ของ "อี้หยู" เท่านั้น ดังนั้นจึงนับเป็นนิมิตหมายอันดีที่ "คุณอมร ทองสุก" ได้แปลวัชรสูตรฉบับที่พระสงฆ์จี้กงได้อรรถาธิบายขึ้น หลังจากที่ได้แปล "คัมภีร์หลุนอวี่" ซึ่งเป็นปรัชญาสําคัญของขงจื่อไปแล้ว
อนึ่ง.. พระสูตรฉบับนี้ยังเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า "มีธรรมานุภาพยิ่งใหญ่ในการปลุกตื่นดวงปัญญาของผู้คนให้สว่างไสว" แต่การที่จะอ่านพระสูตรฉบับนี้ให้แตกฉานเข้าใจ กลับเป็นอุปสรรคสําคัญที่ทําให้ผู้คนจํานวนมากเกิดใจท้อแท้หวั่นไหวที่จะทําความเข้าใจต่อพระสูตรฉบับนี้ต่อไป แม้นจะมีผู้คงแก่เรียนหลายสํานักพยายามอธิบายพระสูตรฉบับนี้ให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการอ่านเข้าใจยากให้หมดสิ้นไปได้ ดังนั้นพระสงฆ์จี้กงจึงได้ขันอาสาเรียบเรียงคําอธิบายวัชรสูตรฉบับนี้ขึ้น ซึ่งคําอธิบายวัชรสูตรของพระสงฆ์จี้กงฉบับนี้ นับเป็นผลงานที่สามารถอธิบายวัชรสูตรได้ตรงตามพุทธประสงค์ พร้อมทั้งยังอ่านเข้าใจง่ายที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในบรรณพิภพขณะนี้
030931 | BQ1613 ว62 2550 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 2 ชั้น 6) | พร้อมให้บริการ |
No other version available