อำนาจแห่งกรรม
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นคำสอนที่มีทั้งเหตุและผลอยู่ในตัวอย่างชัดเจน ทำดีเป็นเหตุ ได้ดีเป็นผล ทำชั่วเป็นเหตุ ได้ชั่วเป็นผล การกระทำก่อให้เกิดผลแก่ผู้กระทำ หลักนี้เป็นหลักใหญ่เรียกว่าหลักกรรม หรือ กัมม์ ก็ได้ คำว่า "กรรม" แปลว่า การกระทำ เป็นไปได้ทั้งเหตุและผล เมื่อมีการกระทำ ผลของการกระทำก็เกิดแก่ผู้กระทำ และส่งผลกว้างออกไปถึงคนอื่นๆ ด้วย เหมือนการที่เอาก้อนหินปาลงไปในน้ำด้วยแรงดันของก้อนหินทำให้น้ำกระเพื่อม ทำให้ปลาในน้ำเกิดความรำคาญ ทำให้ตลิ่งพังเกิดความเสียหาย ผลเกิดทะยอยกันไปตามลำดับ
ในภาษาสมัยใหม่พูดว่า กิริยา และปฏิริยา กิริยา คือ การกระทำ ปฏิกิริยา หมายถึง การกระทำตอบอันเป็นตัวผล เช่น เราเอาฝ่ามือทั้งสองตบกันเป็นกิริยา เกิดเสียงดัง เจ็บฝ่ามือ
019291 | BQ 4435 ป4ก 2550 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 1 ชั้น 20) | พร้อมให้บริการ |
No other version available