พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์
ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้ว่า "วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนาเหมือนคนแขนขาพิการ ศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์เหมือนคนตาบอด" ที่เขากล่าวว่า "ศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์เหมือนคนตาบอด" ก็เพราะศาสนามักผูกโยงกับ "ศรัทธา" และศรัทธาที่ไม่เปิดโอกาสให้ตรวจสอบนั้นง่ายที่จะนำไปสู่ความงมงาย จะอย่างไรก็ตาม "ความงมงาย" ดูจะไม่ได้มีอยู่เฉพาะในผู้นับถือศาสนาเท่านั้น แม้แต่นักวิทยาศาสตร์เองก็สามารถเกิดความงมงายได้เช่นกัน ดังมีผู้วิจารณ์ว่า วิทยาศาสตร์กำลังแสดงบทบาทเป็นศาสนาแบบใหม่โดยผูกขาดว่า อะไรก็ตามที่ไม่ดำเนินไปตามความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งนั้นย่อมไม่ใช่ความรู้ หากเป็นเช่นนั้นจริง ข้อความที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ข้างต้นก็คงจะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะสิ่งที่เขามองข้ามไปก็คือความงมงายในวิทยาศาสตร์นั่นเอง และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ความงมงายที่ว่านี้เป็นปัญหาที่วิทยาศาสตร์เองไม่สามารถจัดการได้ ต้องให้ศาสนาที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับความงมงายมาช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธ ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดปรากฏอยู่ในหนังสือ "พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์" เล่มนี้แล้ว
036486 | BQ4570.S3 พ46 2557 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 2 ชั้น 28) | พร้อมให้บริการ |
No other version available