ย้อนรอยเสียแผ่นดิน สมัยรัตนโกสินทร์ : ประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่ต้องเรียนรู้
"ย้อนรอยเสียแผ่นดิน ประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่ต้องเรียนรู้" เป็นหนังสือที่อธิบายขยายความถึงที่มาที่ไปของ ปัญหาหนึ่งทางประวัติศาสตร์ที่นักวิชาการทางประวัติศาสตร์เองยังแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่านหนึ่งมองว่า ไทยในปัจจุบัน คือนับเนื่งอแต่กรุงรัตนโกสินทร์มากระทั่งถึงครั้งล่าสุดที่ไทยต้องเสียเขาพระวิหารให้แก่เขมรเข้าครอบครอง นับเป็นการเสียดินแดนเพราะถูกรุกล้ำย่ำยี ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง กลับมองว่า แนวคิดที่นำเสนอกันในเรื่องเสียดินแดนหรือแผ่นดินบางส่วนไปนั้น เป็นเพียงวาทกรรมชาตินิยมที่ต้องการสร้างศูนย์กลางของความเชื่อ เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวเพียงเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริง มันมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะแน่แท้นั้น ไม่มีดินแดนในโลกนี้ที่เป็นของใครและของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เส้นแบ่งรัฐชาติที่เพิ่งขีดเขียนขึ้นในศตวรรษที่ 19 แท้จริงเป็นเพียงแนวสมมติที่ถูกนำมาเพื่อแสดงให้เห็นความเป็นตัวตนของประเทศหรือชาตินั้น ๆ เท่านั้น ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า พื้นที่หรือดินแดนใดเป็นแหล่งแห่งหนที่แน่ใจของใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
หนังสือเล่มนี้ได้พยายามหาข้อมูลและหลักฐานที่หลากหลายรอบด้านมานำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านได้พิจารณาด้วยตัวเองว่า แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่เรารับรู้กับสิ่งที่เราเข้าใจนั้น เหมือนหรือแตกต่างกันเช่นไร
038476 | DS578 ส26ย 2560 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 7 ชั้น 3) | พร้อมให้บริการ |
No other version available