หนึ่งศตวรรษ : รัฐธรรมนูญและรัฐประหารกับการเมืองสยามประเทศไทย - จาก กบฏ ร.ศ. 130 ถึง รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือ ประชาธิปไตยกับอำมาตยาธิปไตย Constitutions and Coups in Modern Siamese/Thai Politics: A Centennial Review (1912-2007)
ประเทศสยาม/ไทยในรอบศตวรรษที่ผ่านมา ได้พยายามสถาปนาระบอบทางการเมืองอันศิวิไลซ์ซึ่งเป็นกระแสเดียวกันกับที่ปรากฏในประเทศต่างๆ ทั่วโลก คือ ระบอบประชาธิปไตยอันมี "รัฐธรรมนูญ"เป็นหลักกฎหมายสูงสุด แทนองค์บุคคลหรือสถาบันการเมืองการปกครองแบบโบราณ ดังจะเห็นได้นับแต่เหตุการณ์ความพยายามเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของคณะทหารหนุ่ม หรือ "ยังเติร์ก" เมื่อปี 2454 ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แม้ความพยายามเปลี่ยนระบอบการปกครองของคณะทหารหนุ่มนี้ จะไม่ประสบความสำเร็จ และคณะก่อการถูกกวาดล้างจับกุม แต่อีกเพียงสองทศวรรษหรืออีก 21 ปีถัดมา "คณะราษฎร" ก็เป็นผู้นำของฝ่าย "ราษฎร" ที่ประสบความสำเร็จใน "การปฏิวัติ" เปลี่ยนระบอบทางการเมืองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โดยคณะราษฎรสถาปนาทฤษฎีอำนาจอธิปไตยใหม่แบบ "พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน" ดังปรากฏในมาตราที่ 1 ของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสยามที่ประกาศใช้โดยคณะราษฎรเมื่อ 27 มิถุนายน 2475 ที่ว่า "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย"
029168 | JQ1745 ห32 2552 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 7 ชั้น 5) | พร้อมให้บริการ |
No other version available