กะเทาะเปลือกแนวคิดและแนวปฏิบัติ "การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัย ผู้สูงอายุ และเด็กหรือเยาวชน"
เหตุผลประการหนึ่งอาจมาจากการปฏิวัติการอย่างแยบยลของ วยาคติ หรือ ทัศนคติเชิงลบต่อคนบางกลุ่มอายุ ที่อยู่เคียงคู่สังคม สำหรับสังคมไทยนั้น ความแยบยลของวยาคติ ส่วนหนึ่งมาจากความปรารถนาดี อาจเพราะคนหนุ่มสาวในสังคมไทยได้รับการอบรม เลี้ยงดูตามค่านิยมความกตัญญู ถึงแม้พวกเขาจะมองผู้สูงอายุในครอบครัวอย่างเหมารวมและมองว่า ผู้สูงอายุไร้ความสามารถ พฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นคล้ายๆ กันกับกลุ่มวัยเด็กและเยาวชน ที่มักถูกมองว่าเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลอบรมอย่างใกล้ชิดและห้ามกระทำการหลายๆ อย่าง เพราะโลกทัศน์ที่ว่าเด็กและเยาวชน ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอในการดูแลตนเองหรือคิดตัดสินใจได้ อย่างมีวิจารณญาณเพียงพอ และต้องได้รับการดูแลปกป้องจากผู้ใหญ่
040977 | HQ1061 .ฐ63 2564 | ห้องสมุดสถาบันธรรมชัย (อาคาร 2 ชั้น 4) (ตู้ 1 ชั้น 15) | พร้อมให้บริการ |
No other version available