วารสารธรรมธารา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2018): (ฉบับรวมที่ 7) กรกฎาคม-ธันวาคม
ในวารสาร “ธรรมธารา” ฉบับนี้ เนาวรัตน์ พันธ์วิไล ได้วิเคราะห์โครงสร้างการให้เหตุผลแบบจตุษโกฏิของนาคารชุนในคัมภีร์
มูลมัธยมกการิกาไว้อย่างน่าสนใจ ท่านนาคารชุนถือเป็นนักปรัชญาที่สำคัญยิ่งท่านหนึ่งในพระพุทธศาสนาเป็นต้นกำเนิดของสำนักมัธยมกะซึ่งถือแนวคิดสุญญตาเป็นสำคัญ และมีอิทธิพลต่อแนวคิดของท่านพุทธทาส ขอให้ท่านผู้อ่านวางใจนิ่งๆ ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ คิดตามไปก็จะสามารถทำความเข้าใจ แม้ไม่ใช่นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาโดยตรงก็ตาม และจะได้ความรู้ไปไม่น้อย
บทความพิเศษในฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อำนาจ บัวศิริ ได้นำคำบรรยายเรื่อง “วัคซีนชาวพุทธไทย : การศึกษาพระพุทธศาสนา
สู่คนรุ่นใหม่กับการแก้ไขปัญหาสังคมไทยด้วยงานวิจัยพุทธศาสตร์” ในงานสัมมนาวิชาการธรรมธารา ครั้งที่ 3 เมื่อวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2561 ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย มาถ่ายทอดเป็นบทความนี้
พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร. ได้เขียนบทวิจัย “คำว่า ‘ลฺทธิ’ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” โดยได้ศึกษาพัฒนาการของการใช้คำๆ นี้ พบว่า คำว่า “ลฺทธิ” ที่ใช้ในความหมายว่า “ความเห็น” หรือ “คำสอน” นั้นเป็นคำค่อนข้างใหม่ จึงไม่มีในคัมภีร์พระพุทธศาสนายุคต้น แต่เริ่มมาปรากฎในคัมภีร์ยุครอยต่อระหว่างคัมภีร์ยุคต้นและยุคอภิธรรม และใช้เพิ่มขึ้นมากในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
รศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน ได้ศึกษาเรื่อง “สถานภาพและบทบาทของสตรีเพศตามแนวจริยศาสตร์ทางศาสนา” โดยได้ศึกษามุมมองและจุดยืนถึงสถานภาพของสตรีในศาสนาต่างๆ จำนวนมาก คือ ศาสนาโบราณ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ผู้ที่สนใจเรื่องความเสมอภาคทางเพศไม่ควรพลาด
ดร.อรพรรณ สุชาติกุลวิทย์ ได้เสนอบทความเรื่อง “การสร้างเสริมศีลธรรมในเด็กปฐมวัย” โดยศึกษาทั้งจากแนวคิดของปรัชญาตะวันตกและคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งพบว่า มีจุดร่วมคล้ายกัน เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจการสร้างพื้นฐานทางศีลธรรมที่แข็งแรงให้กับเด็กปฐมวัย
วารสารธรรมธารายังคงมุ่งมั่นทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง กระตุ้น ส่งเสริมการศึกษาวิจัยพระพุทธศาสนาในระดับสูงต่อไป และหวังว่าจะได้รับคำแนะนำและสนับสนุนจากทุกท่านเช่นเคย
พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑฺโฒ)
24 ตุลาคม 2561
(วันออกพรรษา)
0004155 | 294.307 ส00096ว 2561 | ห้องสมุดบัณฑิณศึกษา DCIGS (อาคาร 1 ชั้น 3) | พร้อมให้บริการ |
No other version available